วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 3



Assignment3
    ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาใดก็ได้ มา 1 วิชาใ นสาขาการศึกษาปฐมวัย
มา 1 ระบบ อธิบายละเอียดโดยใช้หลัก IPO มาพอสังเขป


 
ตอบ  ระบบการสอนวิชา ‘’วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ’’  [ Science  for Early childhood ]

ตามหลัก IPO สามารถอธิบายได้ดังนี้
  ( Input )
       คือ ส่วนประกอบต่างๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน   ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก
ผู้สอน หรือครู
       เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์
ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณลักษณะหลายประการได้แก่คุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย เช่น ความรู้ ความสามารถ   ความรู้จำแนกเป็นความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอน ความรู้ในเทคนิคการสอนต่าง  การสื่อสารกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  ความตั้งใจในการสอน ฯลฯ
ผู้เรียน
 ผู้เรียน
          เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบการเรียนการสอนซึ่งจะบรรลุผลสำเร็จได้ก็ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้เรียนหลายประการ เช่น ความถนัด ความรู้พื้นฐานเดิม ความพร้อมความสนใจและความพากเพียรในการเรียนทักษะในการเรียนรู้ ฯลฯ

 หลักสูตร 
        หลักสูตรเป็นองค์ประกอบหลักทีจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจในวิชานั้นๆ
หลักสูตรประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน
 4 ประการคือ
        1.วัตถุประสงค์การเรียนรู้
 
   1.1 เพื่อจัดประสบการณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย แก่เด็ก
   1.2 เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกต  ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีความจำเป็นใน      ชีวิตประจำวันของเด็กและเด็กปฐมวัยมักจะมีทักษะในการสังเกตนี้เป็นพื้นฐานในการพัฒนา  ทักษะด้านอื่นๆ
  1.3 เพื่อปลูกฝั่งให้เด็กปฐมวัยเป็นผู้รู้จักสังเกตสนใจสิ่งต่างๆรอบตัว  ด้วยความรอบคอบและละเอียดถี่ถ้วน
 1.4 เพื่อพัฒนาการประสาทสัมผัสให้มีความสามารถจนเกิดความชำนาญ คล่องแคล่ว และว่องไว
 1.5 เพื่อให้เด็กนำข้อมูลต่างๆที่ได้จากการสังเกตมาช่วยในการตัดสินใจและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา
 1.6 เพื่อให้เด็กรับความรู้และความสามารถตอบคำถามจากข้อสังเกตมาช่วยในการตัดสินใจและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา

2.เนื้อหาสาระที่เรียน
 
    2.1 การนำเอาวิชาวิทยาศาสตร์มาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับบทเรียน สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้รู้จักการสังเกตในเรื่องต่างๆรอบตัว ในวิชาที่เรียนเพราะเป็นการได้รับความรู้จากบทเรียน คละเคล้าไปกับการสังเกตสิ่งรอบตัวของเด็ก และจะช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ความจำของเด็กได้ดีขึ้น
3.กิจกรรมการเรียนการสอน (รวมวิธีสอนและสื่อการเรียนการสอน)
    สำหรับในเด็กวัยนี้จะเป็นการเรียนรู้แบบปฎิบัติจริง เด็กจะเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเด็กจะได้สังเกตสิ่งต่างๆ และเด็กก็จะเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการทำกิจกรรมนั้นเด็กต้องทำแล้วมีความสุข
 

  สำหรับเด็กที่เรียนรู้ทางดนตรีนั้นจะมีการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน
      1.
 ด้านร่างกาย  การเคลื่อนไหวร่างใน  การหยิบจับสิ่งของต่างๆ
      2.
 ด้านอารมณ์  ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก นึก คิดกับสิ่งที่ตนเรียนสัมผัส
      3.
 ด้านสังคม  เด็กได้ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน
      4.
 ด้านสติปัญญา  แสดงความคิดเห็นใช้ออกมาจากสิ่งที่ตนได้สัมผัส รับรู้ และการสังเกตสิ่ง  ต่างๆรอบตัว
 4. การประเมินผล
     เด็กเรียนจบชั้นอนุบาลเขาควรมีความสามารถดังนี้
       - ใช้การสังเกตสิ่งรอบตัว
       -  เด็กกล้าแสดงออกในการคิดเห็น
       -  สามารถบอกได้ในสิ่งที่เห็นและสัมผัส

การสอนวิชาวิทยาศาสตร์
         การสอน วิชาวิทยาศาสตร์ การศึกษาพัฒนาการเด็กตามองค์ประกอบ 3 ประการของ วิชาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การเคลื่อนไหว การฟัง และการสังเกต จะช่วยให้ครูจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมแก่เด็ก  การเคลื่อนไหว(Moving) เด็ก เริ่มเคลื่อนไหวตั้งแต่เป็นทารก หรือแม้แต่ยังอยู่ในครรภ์มารดา เดือนแรกๆ เด็กจะเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อศรีษะก่อน หลังจากนั้นจึงจะเคลื่อนไหวไหล่ แขน ลำตัว และขา การพัฒนาการเคลื่อนไหวก็เริ่มจากกล้ามเนื้อใหญ่ไปกล้ามเนื้อเล็ก การควบคุมการเคลื่อนไหว เริ่มตั้งแต่ส่วนกลางของร่างกาย แล้วขยายออกไป เด็กยกศรีษะได้ก่อนนั่ง ยืนหรือเดิน แล้วพัฒนาถึงขั้นหยิบไม้บล็อกด้วยมือทั้งมือก่อนจะสามารถหยิบด้วยนิ้วหัวแม่ มือและนิ้วชี้

  สิ่งอำนวยความสะดวก
        อาจเรียกอีกอย่างว่า "สิ่งแวดล้อมการเรียน" เช่น ห้องเรียน สถานที่เรียน ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้  ภาพเหมือหรือภาพทั่วไป สิ่งของต่างๆ


( Process
การดำเนินการสอน
      โดยการนำเอาแผนการสอนที่ตนเองเตรียมไว้มาใช้สอน หรือนำเอาตัวป้อนเป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ ในการดำเนินการสอนอาจมีกิจกรรมต่างๆ หลายกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐานการสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆและอาจใช้กิจกรรมเสริมการตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนและได้ข้อสนเทศที่นำมาใช้ช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังขาดพื้นฐานที่จำเป็นก่อนเรียน ให้ได้มีพื้นฐานที่พร้อมที่จะเรียนโดยไม่มีปัญหาใด ๆการสร้างความพร้อมในการเรียน เมื่อเริ่มชั่วโมงเรียน โดยทั่วไปแล้ว จะมีผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียน เช่น พูดคุยกัน คิดถึงเรื่องอื่น ๆ ฯลฯ ถ้าผู้สอนเริ่มบรรยายไปเรื่อยๆ อาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการโดยเฉพาะในช่วงต้นชั่วโมงนั้นจึงควรดึงความสนใจของผู้เรียนให้เข้าสู่การเรียนโดยเร็ว ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ใช้คำถาม
ใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ช่วยเร้าความสนใจ หรือยกเรื่องที่เกี่ยวข้องมาเล่าให้นักเรียนฟัง ในการสร้างความพร้อมไม่ควรใช้เวลามากเกินไป

( Output ) 
แสดงผลการเรียนรู้
           -  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปในทางที่พึงประสงค์  มีการพัฒนาที่ดี

เด็กเรียนจบชั้นอนุบาลเขาควรมีความสามารถดังนี้       
       - ใช้การสังเกตสิ่งรอบตัว
       -  เด็กกล้าแสดงออกในการคิดเห็น
       -  สามารถบอกได้ในสิ่งที่เห็นและสัมผัส



ผลจากการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการพัฒนาทางด้านจิตใจของเด็ก นักจิตวิทยาสังคมต่างให้การยอมรับและได้กล่าวถึงการสังเกตของเด็ก ความจำไว้ว่า
          1.  เด็กจะจำได้ถ้ามีการสังเกต
          2.
  เด็กจะกล้าแสดงออกกับสิ่งเหล่านั้น

     วิทยาศาสตร์ หรือวิชาที่ทำให้เด็กระดับปฐมวัยได้รับการพัฒนาทุก ๆ ด้านของการเจริญเติบโต ไม่ว่าจะเป็นความรู้    ความจำ สังคม   ค่านิยม การคิดหาเหตุผล การสร้างสรรค์ การพัฒนากล้ามเนื้อ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า    การพัฒนาตนเองให้เข้ากับกลุ่ม   หรือสภาพแวดล้อมของสังคมต่าง ๆ วิทยาศาสตร์จึงน่าจะเป็นวิชาเดียวเท่านั้นที่ทำให้เด็กสนุกสนานรื่นเริงอย่างเต็มที่    ทั้งการแสดงออกทางร่างกาย    ความคิด ตลอดจนพัฒนาการทางจิตใจ อารมณ์ และนอกจากนี้ ดนตรีนอกจากนี้ ดนตรียังสามารถนำไปสัมพันธ์  เชื่อมโยงหรือบูรณาการ    กับวิชาการ องค์ความรู้ และกิจกรรมต่าง ๆ แก่เด็กปฐมวัยอย่างสำคัญทีเดียว   ประการสำคัญวิทยาสาตร์เป็นตัวจักรสำคัญที่ใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัย

retrieved from   ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ชุลีพร สงวนศรี  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต